PDPC เตือนอ่านมาตรการจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ก่อนให้ข้อมูลส่วนบุคคล !!!

PDPC เตือนประชาชน อ่านมาตรการจัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ต่าง ๆ อย่างละเอียด ก่อนกดยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคล !!!

เกิดกระแสดราม่าในโลกโซเชียลอยู่เป็นระยะ สำหรับกรณีพิพาทของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และกลุ่มลูกค้า เกี่ยวกับความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เพราะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหลาย มักจะนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า มาโชว์หน้าเพจหรือเฟซบุ๊ก เพียงเพื่อต้องการแจ้งเลขพัสดุหรือสลิปการโอนเงิน ทำข้อมูลส่วนบุคคลรั่วว่อนโซเชียล แอบแฮ็กข้อมูลส่วนบุคคล สร้างกลลวงสารพัด

1723546960731_copy_1024x605

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เดินหน้าเชิงรุกเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่สุ่มเสี่ยงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เสี่ยงทำผิดกฎหมาย PDPA ซึ่งล่าสุดสำนักคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ได้จัดสัมมนาออนไลน์ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ในธุรกิจออนไลน์” เพื่อให้ความรู้กับประชาชน และผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย PDPA มาให้ข้อมูลความรู้ โดยมีตัวแทนนักธุรกิจออนไลน์ มาร่วมแชร์ข้อมูลจริง การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักกฎหมาย PDPA

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ให้ข้อมูลว่า เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจออนไลน์ ประชาชนทุกคนต้องอ่านมาตรการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้ละเอียด ก่อนจะกรอกข้อมูลส่วนบุคคล และกดยินยอมมอบข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้กับร้านค้าหรือผู้ประกอบการ เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ หากเรารู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับการสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เรามีสิทธิ์ยกเลิกและไม่จำเป็นต้องมอบข้อมูลส่วนบุคคลของเราให้ใคร

ด้านผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ทั้งหลาย ต้องมีการแจ้งข้อมูลบนเว็บไซต์, เพจ หรือเฟซบุ๊กของตัวเองให้ชัดเจน เกี่ยวกับมาตรการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เพราะการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีหลักการถูกต้องตามกฎหมาย PDPA ต้องชี้แจงให้ละเอียดว่าข้อมูลที่สอบถามจะนำไปทำอะไร, เพื่ออะไร หากใช้ข้อมูลเสร็จต้องทำลายข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ไม่ใช่นำไปเก็บเป็น Data และนำไปใช้ในธุรกิจของตน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากบุคคลอื่น โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย PDPA

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *