เนคเทค สวทช. จับมือยูเนสโก นำ “นวนุรักษ์” สร้างคลังข้อมูลออนไลน์ จัดเก็บ สืบสาน เพื่อสร้างสรรค์สำหรับคนทำงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย
เนื่องในวัน “อนุรักษ์มรดกไทย” กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศความร่วมมือในการอนุรักษ์สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ด้วยการใช้ “นวนุรักษ์แพลตฟอร์ม” เป็นเครื่องมือให้นักอนุรักษ์สามารถบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรม เพื่อร่วมขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวคิด BCG Model สู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ต่อยอดภูมิปัญญา นำไปสู่การสร้างโอกาส ยกระดับทักษะงานฝีมือช่างอนุรักษ์ให้สามารถสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางอาชีพสำหรับคนทำงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย
นวนุรักษ์ (NAVANURAK) หรือแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการและให้บริการข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิจัยเนคเทค สวทช. เป็นระบบบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลที่จัดเก็บข้อมูลทั้งทางศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเปิดให้ชุมชนหรือหน่วยงานสามารถจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลทางวัฒนธรรมได้ด้วยตัวเอง ถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อช่วยอนุรักษ์ข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ในรูปแบบที่สามารถถ่ายทอดความรู้ และเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น พร้อมระบบสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลรองรับหลากหลายรูปแบบ สนับสนุนบริการข้อมูลแบบเปิด “Open Data” เพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก และนำข้อมูลไปใช้งานต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างประโยชน์ในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ และการพัฒนาภายในชุมชนอย่างยั่งยืน
เนคเทค สวทช. และยูเนสโกเล็งเห็นว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งโบราณสถาน และอาคารสถานที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ภายในประเทศไทยนั้นเป็นความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงานบูรณปฏิสังขรณ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป กระนั้น กลับมีอยู่จำนวนน้อย อยู่ในวงจำกัด กระจัดกระจายตามหน่วยงานต่าง ๆ และมีรูปแบบที่เข้าถึงได้ยาก จึงเป็นที่มาของการริเริ่มความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน ในโครงการจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อคนทำงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิเอสซีจี โครงการนี้มุ่งสืบสานและเก็บรักษาข้อมูลความรู้ทางด้านงานช่างฝีมือเพื่อสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาช่วยยกระดับงานช่างอนุรักษ์ให้มีคุณภาพสูงขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาแหล่ง โดยจะเริ่มดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2565 เป็นปีแรก
ภายใต้โครงการนี้ เนคเทค สวทช. จะให้ความร่วมมือกับยูเนสโก ด้วยการนำ “นวนุรักษ์แพลตฟอร์ม” มาประยุกต์ใช้สำหรับการจัดเก็บ และสร้างคลังความรู้เพื่อคนทำงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ร่วมถึงจะร่วมกัน
จัดกิจกรรมประกวดด้านการอนุรักษ์ต่าง ๆ อาทิ การประกวดผลงานอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์ไม้ หรืองานฝีมือช่างไม้แบบดั้งเดิม โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ในวิชาชีพงานช่างอนุรักษ์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสร้างฐานบุคลากรที่จะเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของสมาคมวิชาชีพช่างอนุรักษ์ในอนาคต ทั้งนี้ จะมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจได้ทราบ และเข้าร่วมกิจกรรมในโอกาสต่อไป
NECTEC-NSTDA joins UNESCO in building online database on NAVANURAK for collecting and preserving creative assets for heritage conservation professionals
2 April 2022, Bangkok – On the occasion of Thai Heritage Conservation Day, National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) under National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation (MHESI), announced its collaboration with United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) in supporting the safeguarding of Thai architectural knowledge.
Through the NAVANURAK society and culture platform, NECTEC is setting up a knowledge management tool for conservators and heritage homebuilders, integrating technology and innovation to actualize the Bio-Circular-Green Model (BCG) toward creative economy development. The platform will enable specialized professionals to acquire comprehensive bodies of knowledge, to widen opportunities for adapting traditional know-how to current purposes, and to upskill Thai conservation building craftsmanship toward high-quality protection of heritage. The platform also gears toward building a guild of heritage conservation professionals nationwide.
Developed by NECTEC, NAVANURAK is a platform for management and dissemination of information on culture and biodiversity. The platform opens doors to a wide range of data and sources on art and culture, traditional wisdoms, and biodiversity, while offering spaces for organizations and the public to freely store and publicize their information. NAVANURAK contributes to the longevity of cultural data, supporting a variety of data forms and providing an Open Access data policy to maximize visitors’ abilities to learn, share, exchange and use knowledge to create new things that benefit the economy, such as conservation-based tourism, job-building, income generation, and community-led sustainable development.
NECTEC, NSTDA and UNESCO recognize that information about archaeological sites and historic buildings and towns is vital to the effective conservation and restoration of cultural heritage sites. This information is, however, still limited and scattered across different institutes and agencies, as well as stored in forms that post challenges to open access by the public. The two organizations have therefore decided to join force in implementing the project in managing and disseminating knowledge for architectural conservation professionals, with essential supported provided by SCG Foundation. This early-stage project ultimately aims to promote and safeguard knowledge on building craftsmanship to support career advancement, and to adopt technology and innovation for upgrading the quality of conservation work carried out by masons and carpenters from the initial step of site investigation forwards. The project has been launched in 2022.
Under this project, NECTEC and NSTDA will aid UNESCO by adapting the NAVANURAK platform for knowledge management appropriate to the needs of conservation professionals, and for co-organizing conservation-related competitions, such as a wooden heritage conservation project contest, a traditional carpentry contest, and so forth. These activities are expected to increase public awareness of conservation careers, as well as build wider professional capacity towards establishing Thailand’s first guild of heritage conservation artisans, which will soon be announced for membership enrollment.