“เอนก” ชูยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

เอนก ชูยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG นำเข้าสู่ งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 อย่างยิ่งใหญ่ อบอุ่น และสวยงาม 

co4

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม  2565 ที่ รร.เซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22  ซึ่งเป็นวันแรกของงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ได้จัดพิธีนำเข้าสู่มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG” พร้อมมอบโล่ประกาศนียบัตรคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ (NECAST) ประกาศนียบัตรห้องปฏิบัติการที่ผ่านมาตรฐานฯ (มอก. 2677-2558) ประกาศนียบัตรหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล (CoreTrustSeal) ในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงานการจัดงาน และได้รับเกียรติจาก ศ.ดร. สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พร้อมภาคีเครือข่ายวิจัยจากทั่วประเทศร่วมงาน นำเข้าสู่งาน ด้วยการแสดง Sound Echo and Silence ซึ่งเป็นการแสดงวงดนตรีพื้นบ้านกับวงออร์เคสตราโดย ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับทุนสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. 

co
co13

ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวปาฐกถาสรุปว่า “รัฐบาลมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย BCG  เพราะเป็นเรื่องที่จะยกระดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกสากลว่าประเทศไทยพัฒนาแล้วเป็นประเทศที่รักธรรมชาติและรักษ์โลก ซึ่งเป็นกระแสของโลกและเป็นที่นิยมกันในหมู่ของประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศไทยยังเน้นเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ที่นำมาช่วยในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มจีดีพีให้กับประเทศให้เพิ่มขึ้นได้อีกมาก เพราะ 20-30 เปอร์เซนต์ของจีดีพีมาจากการท่องเที่ยว แม้แต่ญี่ปุ่นก็พยายามจะทำเรื่องนี้ แต่ประเทศไทยมีความโดดเด่นมากกว่าและสามารถเทียบได้กับสวิตเซอร์แลนด์

co2

รมว.อว. กล่าวว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้ อว. เป็นกระทรวงหลักในการขับเคลื่อน BCG โดยมี รมว. อว. เป็นประธานกรรมการขับเคลื่อน และผอ. สวทช. เป็นเลขานุการกรรมการ และโดยที่เศรษฐกิจ BCG จะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับภาคธุรกิจเห็นความสำคัญของเรื่องนี้แค่ไหน อว.จึงได้ลงนามความตกลงร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ทำวิจัยร่วมกัน เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ที่ธุรกิจระดับชั้นนำของโลกและเป็นธุรกิจอาหารที่ใหญ่ระดับสองของโลก หันมาให้ความสนใจต่อนักวิจัยไทย รวม 4 ด้านได้แก่ เรื่องเนื้อเทียม (Alternative meat) แบตเตอรี่อีวี อายุวัฒนะ (Longevity) และสมาร์ทฟาร์ม ซึ่งการที่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์หันมาสนใจผลงานนักวิจัยไทยเพราะนักวิจัยไทยมีคุณภาพและถือว่ามีราคาไม่แพง ประกอบกับมีการพูดคุยกันมาระยะหนึ่งแล้ว และอีกไม่นานจะเริ่มลงมือทำตามโจทย์ที่ธุรกิจใหญ่มากอยากให้ทำ และทาง อว.ขอประกาศว่าเรายินดีที่จะร่วมมือกับบริษัททุกระดับในไทยไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ รวมถึงสตาร์ทอัพ

co5

 และจากการที่ อว. ได้มอบหมายให้ธัชชา ( โครงการขับเคลื่อนและพัฒนางานวิจัยเพื่อสังคม) ทำวิจัยเรื่องสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นการย้อนประวัติศาสตร์ไทยลงไปอีก 2,000-3,000 ปีทำให้เป็นโอกาสดี เพราะจากการเดินทางไปเยี่ยมชมบริติชมิวเซียม ประเทศอังกฤษเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการหารือที่เราจะนำลูกปัดในยุคบ้านเชียงไปจัดแสดงบ้าง เราอยากส่งเสริมเกียรติภูมิของประเทศไทยนำของสำคัญของไทยไปเปิดพื้นที่ที่บริติชมิวเซียมโดยมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นรูปธรรมไม่เกินหนึ่งปี ทำให้จากนี้บริติชมิวเซียมจะมีอารยธรรมไทยย้อนไปถึงสุวรรณภูมิได้จัดแสดงในระดับโลกตลอดปี สิ่งที่ตนคิดเป็นเรื่องก้าวกระโดด แต่อยากให้นักวิจัยคิดแบบทางลัดหรือ Shortcut หรือ Bypass บ้างและอยากให้คิดว่า เราทำได้และกล้าทำ ขอให้เห็นการวิจัยเป็นโอกาสอย่าเป็นปัญหา อยากให้วิจัยเพื่อชาติบ้านเมือง นำพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนา”      อนึ่ง งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ” จัดเป็นปีที่ 17 โดยนำเสนอผลงานนิทรรศการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาวิชราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  รวมถึงนิทรรศการ การนำเสนอข้อมูลและผลงานจากเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ โดยรวมนิทรรศการศาสตร์และศิลป์งานวิจัย และ นิทรรศการชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม นิทรรศการการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา นิทรรศการนำเสนอบทความผลงานวิจัย Thailand Research Expo & Symposium 2022 ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 5 ธีมในการนำเสนอผลงาน ที่ประกอบด้วย 1.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 4.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต  และ5.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์เชิงการพัฒนาพื้นที่  และการจัดประชุมสัมมนาออนไลน์กว่า 150 หัวข้อ 

co11

นอกจากนี้ภายในงานยังได้จัดให้มีการมอบสุดยอดผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลเกียรติยศ Platinum Award ซึ่งจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน เป็นทศวรรษของรางวัลอันทรงเกียรติ อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ จึงจัดให้มีนิทรรศการชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมเวที Hilight Stage และ Mini Mini Stage Research Expo Talk  เป็นเวทีหลักที่ใช้เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีความพร้อมใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชุมชน/องค์กร/พาณิชย์ ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย โดยการกำหนดประเด็นเฉพาะและมีพิธีกรมืออาชีพเป็นผู้ดำเนินการ โดยการนำเสนอในรูปแบบของการถอดบทเรียนความสำเร็จ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิค และวิธีการในการนำผลงานวิจัยไปต่อยอดและนำไปใช้ประโยชน์แก่ชุมชน หรือประชาชนผู้สนใจ และกิจกรรมในภาคการประชุมยังมีหัวข้อที่หลากหลายทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

co10

ภาคนิทรรศการ มีการนำเสนอผลงานวิจัยกว่า 700 ผลงาน  ภาคการประชุม มีการเปิดเวทีภาคการประชุม ในหัวข้อที่น่าสนใจ กว่า 150 หัวข้อ ที่ประกอบด้วย การประชุมขนาดใหญ่ 1,000 คน การประชุมขนาดกลาง 500 คน และการประชุมกลุ่มเฉพาะเรื่อง 50 คน

%E0%B8%A7%E0%B8%8A19
%E0%B8%A7%E0%B8%8A16

ขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานระหว่างวันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2565 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ สามารถลงทะเบียนเข้าชมงานได้ที่ www.researchexpo.nrct.go.th แบบ Online ภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2565 หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02 579 1370-9 ต่อ 515, 517, 518, 519 และ 524 ติดตามข้อมูลข่าวสารการจัดงานได้ที่ www.researchexpo.nrct.go.th  fanpage : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

co15
co12
co14

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published.