สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ทรงเป็นองค์ประธานพิธีลงนาม MOU การใช้พื้นที่สร้างซินโครตรอน 3 GeV

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ทรงเป็นองค์ประธานพิธีลงนาม MOU การใช้พื้นที่สร้างซินโครตรอน 3 GeV


สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นพระประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่สำหรับโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และอาคารปฏิบัติการ ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

.com/blogger_img_proxy/

15 พฤศจิกายน 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่สำหรับโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และอาคารปฏิบัติการ ระหว่าง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิทยสิริเมธี โดย ศาสตราจารย์ ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล อธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดย รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ณ อาคารวิทยสิริเมธี สถาบันวิทยสิริเมธี ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง

.com/blogger_img_proxy/
.com/blogger_img_proxy/

ทั้งสามหน่วยงานได้ตกลงร่วมกันในการใช้ประโยชน์พื้นที่ของ ปตท. และ VISTEC เพื่อดำเนินการก่อสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติงานของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน สำหรับโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และอาคารปฏิบัติการ ภายในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ของ ปตท. ประมาณ 55 ไร่ และพื้นที่ของ VISTEC ประมาณ 33 ไร่ รวมพื้นที่จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 88 ไร่ โดยตกลงจะร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ของบุคลากร ในการพัฒนาโครงการ รวมถึงการใช้ประโยชน์ของแสงซินโครตรอนเครื่องปัจจุบันและเครื่องในอนาคต

.com/blogger_img_proxy/

เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV ต่อยอดจากการพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 1.2 GeV ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี โดยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องใหม่นี้มีสถานที่ตั้งที่เหมาะสมทางยุทธศาสตร์ และมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ของประเทศ สามารถสร้างคุณประโยชน์มากมายมหาศาลต่องานวิจัยทางด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และด้านอื่นๆ เพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาประเทศ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาทุนมนุษย์ เป็นต้น

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *